ทำไมกาแฟโบราณ ถึงมีชื่อเรียกต่างกันเยอะแยะไปหมด
29 ส.ค. 66
เฮียๆ เอาโอเลี้ยงแก้วนึง!
เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมกาแฟโบราณ ถึงมีชื่อเรียกต่างกันเยอะแยะไปหมด แต่ละชื่อมันคืออะไรกันแน่? ทั้งๆ ที่มาจากกาแฟตัวเดียวกัน วันนี้พี่ไทมีมาเฉลยให้ฟังกันครับ
 
‘โอยั๊วะ’ คำนี้เป็นภาษาจีนแต้จิ๋วครับ คำว่า โอ = ดำ ยั๊วะ = ร้อน โอยั๊วะก็คือ กาแฟดำร้อน ซึ่งถ้าเปรียบกับกาแฟปัจจุบัน ก็คงต้องเป็นอเมริกาโนแบบไทยที่ไม่ใส่ครีมหรือนม

ส่วน ‘โอเลี้ยง’ ความหมายก็เหมือนกันครับ แต่คำว่า ‘เลี้ยง’ ภาษาจีนแต้จิ๋วแปลว่า เย็น โอเลี้ยงก็เลยหมายถึงกาแฟดำใส่น้ำแข็งนั่นเองครับ
 
370038513_782027897056167_6600717766189723052_n.jpg
 
‘จั้มบ๊ะ’ คือโอเลี้ยงที่เพิ่มความหวานด้วยน้ำหวานสีแดงหรือสีเขียว ซึ่งที่มาของชื่อนั้นมาจากน้ำแข็งไสจ้ำบ๊ะที่ใช้น้ำหวานสีแดงหรือสีเขียวราดตาม

โอเลี้ยงยกล้อ’ คือ โอเลี้ยงใส่นมหรือกาแฟดำใส่นม ที่มาของชื่อก็เดากันว่าน่าจะมาจากยี่ห้อนมข้นจืดในสมัยก่อนที่เป็นรูปจักรยาน เมื่อคนชงเทนมลงไป จักรยานก็จะคล้ายกับกำลังยกล้ออยู่นั่นเองครับ
 
369554819_782027843722839_7445047797354140669_n.jpg
 
‘โกปี๊’ คำนี้อาจจะคุ้นๆ หูกันอยู่เพราะเป็นชื่อกาแฟที่คนใต้เรียกกันครับ ซึ่งเป็นทับศัพท์มาจากคำว่า Coffee ในภาษาอังกฤษแต่จะออกเสียงแบบสำเนียงใต้ ซึ่งมันก็คือ กาแฟดำใส่นมข้นหวาน ถ้าใครอยากลอง ‘โกปี๊’ สามารถสั่งเมนู ‘พันธุ์ไทย ไชโย’ ร้อน ที่ร้านพันธุ์ไทยได้เล๊ยย

ส่วนคำว่า ‘โกปี๊ออ’ คือกาแฟดำร้อนไม่ใส่นมนั่นเองครับ