พักสมองด้วยวิธี Mindfulness
12 ส.ค. 66

รู้ไหมครับว่าการที่เรานั่งเหม่อลอย สมองจะใช้พลังงานมากกว่าเวลาเราตั้งใจทำอะไรสักอย่างอีกนะ!
สมองส่วนนี้เรียกว่า DMN (Default Mode Network) ซึ่งจะกินพลังงานสมองมากถึง 60–80% เมื่อเรานั่งเหม่อ ซึ่งมากกว่าการที่เราตั้งใจหรือจดจ่อกับอะไรสักอย่าง เช่น ล้างจาน ดื่มกาแฟ อ่านหนังสือ เป็นต้น
ซึ่งการที่เราใช้พลังงานไปกับสมองส่วน DMN มากเกินไป เราจะไม่ได้พักผ่อนอย่างแท้จริงและทำให้เหนื่อยง่าย ขี้หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ และหมดไฟได้ง่ายอีกด้วย
ดังนั้นนักประสาทวิทยา Dr. Marcus E. Raichle จาก Washington University สหรัฐอเมริกา ได้คิดค้นและมีการพัฒนาเทคนิคเพื่อช่วยให้เราควบคุมการทำงานของสมองส่วน DMN นี้ให้สมองได้พักผ่อนจริงๆ ด้วยวิธีที่เรียกว่า ‘Mindfulness’ หรือวิธีพักสมองด้วยการทำสมาธิ มาดูกันว่าต้องทำอย่างไรบ้าง


ปัจจุบันเรามักจะทำหลายๆ อย่างในเวลาเดียวหรือที่เรียกว่า Multitasking เช่น เวลาแปรงฟันต้องไถดูอินสตาแกรมไปด้วย หรือเวลาดูมือถือก็แอบฟังทีวีที่เปิดไว้ด้วย
พฤติกรรมเหล่านี้ป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สมองเหนื่อย เวลาที่สมองเข้าสู่ช่วงที่มีสมาธิให้ตั้งใจทำแค่อย่างเดียว เสร็จแล้วค่อยไปทำอย่างอื่นต่อ จะได้ใช้พลังสมองไปทีละเรื่อง
พฤติกรรมเหล่านี้ป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สมองเหนื่อย เวลาที่สมองเข้าสู่ช่วงที่มีสมาธิให้ตั้งใจทำแค่อย่างเดียว เสร็จแล้วค่อยไปทำอย่างอื่นต่อ จะได้ใช้พลังสมองไปทีละเรื่อง

วิธีนี้ลองหาห้องเงียบๆ เพื่อสร้างภาวะที่ทำให้จิตใจรู้สึกสงบ ค่อยๆ สแกนร่างกายทีละส่วน จดจ่ออยู่กับลมหายใจ เพื่อดึงตัวเองกลับมาอยู่กับปัจจุบัน เมื่อนั้นสมองคุณจะเปิดโล่งพร้อมใช้งานอีกครั้ง
เทคนิคนี้สามารถไปปรับใช้ได้กับช่วงเวลาที่ต้องการรวบรวมสติ เช่น การพรีเซนต์งานใหญ่ๆ เป็นต้น
เทคนิคนี้สามารถไปปรับใช้ได้กับช่วงเวลาที่ต้องการรวบรวมสติ เช่น การพรีเซนต์งานใหญ่ๆ เป็นต้น